“อิฐ” เป็นหนึ่งส่วนประกอบหลักของการสร้างบ้าน อิฐมีหลายขนาด หลากหลายประเภทแตกต่างกันตามคุณสมบัติ ซึ่งมีผลต่อความคงทนแข็งแรง การระบายความร้อน การระบายความชื้นของบ้าน การรับน้ำหนัก การทนไฟ รวมถึงเวลาในการก่อสร้าง ดังนั้นการเลือกใช้อิฐให้เหมาะกับงานก่อสร้างและความต้องการใช้งาน
มารู้จักกับอิฐแต่ละประเภท
อิฐมอญ หรืออิฐแดง ส่วนประกอบหลักคือดินเหนียว ทรายหรือขี้แกรบ และน้ำ อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วนำไปเผาเพื่อให้มีความแข็งแรงและคงรูปร่างไว้ เป็นอิฐสที่นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างหลายสิบปี เพราะคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศในประเทศไทย
• สามารถยึดเกาะได้ดี ไม่แตกง่าย มีความหนาแน่นสูง
• แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศในประเทศไทย
• หาซื้อได้ง่าย มีราคาไม่แพง
• สามารถทนไฟได้ประมาณ 2 ชั่วโมง
• รับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัม / 1 ตารางเซนติเมตร
• มีสีสันมีความเป็นธรรมชาติ
• ดูดความชื้นได้ดี
• คุณภาพ มาตรฐาน และขนาดไม่สม่ำเสมอ
• สะสมความร้อน ส่งผลทำให้บ้านร้อนได้
• มีขนาดเล็ก จึงใช้เวลาก่อสร้างนาน และค่าแรงก่อสร้างแพง
• เก็บเสียงได้น้อย
เป็นอิฐที่ทำมาจากปูนซีเมนต์และทราย ผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมมากกว่าอิฐมอญ ส่วนมากจะมีสีเทาตามสีของส่วนประกอบที่ใช้ผลิต โดยมีลักษณะเด่นคือมีรูกลวงตรงกลางช่วยให้นำหนักเบาขั้น และช่วยถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ โดยนิยมใช้กับงานก่อสร้างที่เน้นการคุมค่าใช้จ่าย เพราะราคาถูกและใช้เวลาก่อสร้างเร็วกว่าอิฐมอญ มักจะถูกใช้ก่อผนังโกดัง โรงงาน ที่ต้องการประหยัดงบประมาณและเวลาก่อสร้าง
• ได้รับความนิยม เพราะราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่นๆ
• มีขนาดต่อก้อนใหญ่ จึงสะดวกในการใช้ก่อสร้าง และช่วยลดเวลาการก่อสร้าง
• มีโอกาสเกิดปัญหาการรั่วซึมได้สูง
• รับแรงกดได้น้อยกว่าอิฐชนิดอื่นๆ
• เก็บเสียงได้น้อย
• แตกร้าวได้ง่าย หากทำการเจาะผนัง
• ไม่เหมาะสำหรับงานเดินท่อไฟ หรือท่อประปาในผนัง
อิฐมวลเบา เป็นอิฐที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ มีส่วนประกอบหลักคือปูนซีเมนต์ อะลูมิเนียมที่ใช้ในการก่อฟองอากาศ ยิปซัม ปูนขาว ทรายละเอียด และน้ำ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัยทำให้มีขนาดมาตรฐาน น้ำหนักเบา จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการก่อทำผนังบ้าน
• มีมาตรฐาน และทันสมัย ขนาดเท่ากันทุกก้อน
• สามารถใช้ก่อทั้งแนวดิ่ง และก่อฉากได้ง่าย
• มีน้ำหนักเบา จึงลดภาระการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลัก
• มีลักษณะเป็นฟองอากาศ จึงเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี และทนไฟได้นานกว่า 4 ชั่วโมง
• ขนาดก้อนใหญ่ ช่วยลดเวลาและค่าแรงในการก่อสร้าง
• สามารถรับน้ำหนักได้ 35 กิโลกรัม / 1 ตารางเซนติเมตร
• สามารถกันเสียงได้ดี
• ราคาสูงเมื่อเทียบกับอิฐทั้ง 2 ชนิด
• หากจะเจาะแขวนต้องใช้พุกโลหะสำหรับอิฐชนิดนี้เท่านั้น
• จำเป็นต้องใช้ปูนหรือวัสดุที่ใช้ในการก่อสำหรับอิฐมวลเบาเท่านั้น
ปัจจุบัน “อิฐ” ได้ถูกนำมาใช้ในหลายวัตถุประสงค์ นอกจากจะเป็นวัสดุในการก่อผนัง สถาปนิกยังอาจนำมาใช้เป็นลูกเล่น หรือเพิ่มเติมในงานออกแบบ ทั้งนี้การเลือกใช้ “อิฐ” ควรจะพิจารณาวัตถุประสงค์การใช้งาน งบประมาณ ระยะเวลาในการก่อสร้าง ที่สำคัญคือ ความต้องการและความชอบของเจ้าของบ้าน
CR. รู้ลึกเรื่องอิฐ เลือกแบบไหน?…ให้เหมาะกับงานสร้าง – สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน www.hba-th.org
บริษัท เอ พลัส เพอร์เฟค โฮม จำกัด
802/849 หมู่บ้านวังทองริเวอร์ปาร์ค หมู่12 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
Email : [email protected]